วันอังคารที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

บ้านคนไทยสมัยก่อน

                             บ้านคนไทยสมัยก่อน

บ้านสมัยก่อน  คือบ้านทรงไทย มีลักษณะแตกต่างกันไปตามแต่ละภาค โดยสอดคล้องกับการดำรงชีวิตของคนไทยสมัยก่อนและแสดงออกถึงภูมิปัญญาไทย ทั้งนี้องค์ประกอบที่มีผลต่อรูปแบบบ้านมีทั้งเรื่องสภาพแวดล้อม ภูมิศาสตร์ ภูมิอากาศ อาชีพ ฐานะความเป็นอยู่ คติความเชื่อและศาสนาในแต่ละภูมิภาค โดยหลักๆ จะแบ่งเป็น


วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

การแต่งงานแบบสมัยก่อน

                         การแต่งงานแบบสมัยก่อน

การแต่งงานแบบไทย พิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทย การแต่งงานเกิดขึ้นหลังจากที่ฝ่ายชายและหญิงเกิดความรักใคร่ชอบพอกันในเวลาอันสมควร เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ฝ่ายชายจะบอกกับพ่อแม่ ให้ทราบเพื่อให้จัดการผู้ใหญ่มาทาบทามสู่ขอฝ่ายหญิงจากพ่อแม่ของฝ่ายหญิง
ในสมัยนี้พิธีการแต่งงาน ได้ถูกตัดทอนย่นย่อลงมาก เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน สิ่งที่สิ้นเปลืองก็ตัดออกไป แต่ยังคงรักษาพิธีการแต่งงานตามธรรมเนียมไทยสืบต่อกันมา

เนื้อหา

  [ซ่อน

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

การเดินทางท่องเที่ยว

        การเดินทางเป็นกิจกรรมที่กระทำควบคู่กับสังคมมนุษย์แต่การเดินทางในแต่ละยุคอาจมีความแตกต่างกันทั้งวัตถุประสงค์และวิธีการเดินทาง มนุษย์สมัยหินเก่า (Paleolithic Age) ประมาณ 2,000,000 – 8,000 ปีก่อน ค.ศ. ต้องเดินทางเพื่อแสวงหาอาหาร เสาะหาที่พักพิง หรือหนีภัยธรรมชาติ มนุษย์สมัยหินใหม่ (Neolithic Age) ประมาณ 8,000 – 4,000 ปีก่อน ค.ศ. มนุษย์ยุคนี้ ถึงแม้ว่ามีการตั้งถิ่นฐาน แต่ก็ยังมีการเดินทางเพื่อแสวงหาอาหาร แสวงหาที่พักอาศัยที่ปลอดภัยและมั่นคงในยุคโลหะ (Copper Age) ประมาณ 4,000 – 2,500 ปีก่อน ค.ศ. มนุษย์รู้จักสร้างบ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น การเดินทางในสมัยนี้ก็เพื่อการสงครามเพื่อขยายอำนาจและแสวงหาผลประโยชน์จากสงคราม เช่น ข้าทาส บริวาร และทรัพย์สมบัติที่มีค่า มีการเดินทางเพื่อค้าขาย การเดินทางเพื่อแสวงหาความสุขสำราญ


ในปัจจุบัน การเดินทางก็ได้ขยายตัวออกไปกว้างขวางยิ่งขึ้น วัตถุประสงค์ของการเดินทาง มิใช่เพื่อประกอบธุรกิจ ย้ายถิ่นฐาน หรือกิจกรรมเกี่ยวกับการประกอบอาชีพ แต่การเดินทางได้ครอบคลุมถึงการท่องเที่ยวในลักษณะต่างๆ กัน ความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีส่วนทำให้การเดินทาง แตกต่างจากเดิมทั้งวัตถุประสงค์และวิธีการในการเดินทาง การเดินทางในปัจจุบันจึงกระทำควบคู่กับการท่องเที่ยว

อาหารสมัยก่อน




ภูมิปัญญาไทยกับวิถีการกินอาหารของคนไทย

ค่านิยมการบริโภคของคนไทยในปัจจุบันส่วนใหญ่ มีวิถีชีวิตการกินอาหารประเภทอาหาร จานด่วน ( fast food ) เลียนแบบการกินแบบตะวันตก ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการที่จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น ไขมันในเส้นเลือด โรคเก๊า โรคอ้วน ฯลฯ อาหารเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีพของมนุษย์ ทุกสังคมจึงดำเนินชีวิตไปเพื่อ " การทำมาหากิน ” ด้วยรูปแบบแตกต่างกัน ในปัจจุบันสามารถจำแนกอาหารไทยได้เป็น ๒ รูปแบบคือ
- อาหารแบบราชสำนัก ด้วยธรรมเนียมราชสำนักฝ่ายในมักถือเป็นต้นแบบประเพณี การดำรงชีวิตที่ดีของคนไทย อาหารในราชสำนักจึงเป็นที่นิยมบริโภคตามแบบตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
- อาหารพื้นเมือง คือ อาหารประจำภูมิภาคต่าง ๆ ที่แตกต่างกันตามลักษณะพืชพันธุ์ และสภาพภูมิประเทศ
ข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย เมื่อหิวก็นึกถึงข้าวเรียกอาหารแต่ละมื้อว่า " ข้าวเช้า ” " ข้าวกลางวัน ” และข้าวเย็น เมื่อพบกันก็ทักทายกันว่า " กินข้าวหรือยัง ” การทำมาหากินก็มีอาชีพปลูกข้าวเป็นหลักมาแต่อดีต วงจรชีวิตและประเพณีวัฒนธรรมจึงผูกพันอยู่กับข้าวตลอดปี มีประเพณีทำบุญ บูชาเทพยาดา บรรพบุรุษ เพื่อผลแห่งความอุดมสมบูรณ์ของธัญญาหาร
ข้าวไทยเป็นข้าวเอเซียสายพันธุ์ oriza sative จากการศึกษาโบราณคดีในประเทศไทยได้พบเมล็ดข้าวที่ปลูกโดยมนุษย์สำหรับกินเป็นอาหาร มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อราว ๕,๐๐๐ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาลักษณะเมล็ดข้าวจากแหล่งโบราณคดีในประเทศไทย พบว่าคนในสมัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ยุคต้นปลูกข้าวเหนียวชนิดเมล็ดใหญ่ ( javanica ) และ ชนิดเมล็ดป้อม ( japonica ) เป็นอาหาร ในสมัยทวารวดี (พ.ศ.๑๒๐๐ – ๑๖๐๐) จึงเริ่มนิยมกินข้าวชนิดเมล็ดยาวรี ( indica ) จากแถบอ่าวเบงกอล ที่นำเข้ามาโดยพ่อค้าชาวอินเดีย นักโบราณคดีเชื่อว่าคนระดับเจ้าผู้ครองนครเป็นผู้รับวัฒนธรรมการกินข้าวชนิดนี้เข้ามาก่อนที่จะนิยมกันในหมู่คนทั่วไป จึงเรียกชื่อข้าวประเภทใหม่นี้ว่า " ข้าวเจ้า ” หรือข้าวของเจ้านาย
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คนไทยนิยมกินข้าวเจ้ามากกว่าข้าวเหนียว มีการปลูกมากจนสามารถส่งขายเป็นสินค้าออกที่สำคัญจวบจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่มีคุณสมบัติดีที่สุดในปัจจุบัน คือ ข้าวหอมมะลิ ซึ่งมีลักษณะเมล็ดขาวใสเหมือนดอกมะลิ มีกลิ่นหอมเหมือนใบเตย จึงเรียกว่า " ข้าวหอมขาวเหมือนมะลิ ” ภายหลังเรียกสั้นลงเป็น " ข้าวหอมมะลิ ” ซึ่งเป็นที่นิยมในตลาดโลกว่าเป็นข้าวหอมอร่อยที่สุดชนิดหนึ่งของโลก
คนไทยกินข้าวกับ " กับข้าว ” ที่ปรุงจากพืชผัก เนื้อสัตว์นานาชนิดจากธรรมชาติรอบตัว ด้วยวิธีการที่บรรพบุรุษได้ทดลอง คัดเลือก และผสมผสานไว้อย่างเหมาะสม สืบทอดกันมานานนับพันปี ซึ่งเรียกกันติดปากว่า " ต้ม ยำ ตำ แกง ” ที่มีเนื้อหาแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค ทำให้อาหารไทยมีความ หลากหลาย สัมพันธ์กับทรัพยากร สภาพภูมิประเทศ และหลักโภชนาการของคนไทย ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยที่อาจจำแนกได้ดังนี้
- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการทำความเข้าใจวัฏจักรธรรมชาติ จึงสร้างสรรค์อาหารไทย ให้ มีส่วนประกอบที่สัมพันธ์กับลักษณะภูมิประเทศ ทรัพยากรธรรมชาติ มีลักษณะที่ลื่นไหล สามารถสับเปลี่ยนผัก เนื้อสัตว์มาปรุงได้ตามฤดูกาลและสภาพพันธุ์พืชในพื้นถิ่น ซึ่งมีการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า สามารถนำมาปรุงอาหารได้ทุกส่วนทั้งใบ ดอก ราก หัว ผล
- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการเรียนรู้คุณค่าพืชพรรณ เนื้อสัตว์ จึงสร้างสรรค์อาหารไทย ให้มีคุณค่าสอดคล้องกับความต้องการร่างกายคนไทย เป็นประโยชน์ในทางบำรุง ป้องกันโรค
- ภูมิปัญญาแห่งผลสำเร็จในการแปรรูปอาหาร เพื่อถนอมรักษาให้เก็บไว้บริโภคยาวนาน ก่อให้เกิดอาหารหลายชนิด
อาหารไทยเป็นวัฒนธรรมแห่งการผสมผสาน บนพื้นฐานของการรับเพื่อทดลองเมื่อเห็นว่าดีจึงประยุกต์เข้ากับรูปแบบอาหารแบบดั้งเดิม กลิ่นไออาหารต่างชาติทั้งมอญ ลาว จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และชาติแถบตะวันตก จึงกรุ่นอยู่ในอาหารไทยที่ยังคงรูปแบบเป็นตัวของตัวเอง แต่คนไทยในยุคปัจจุบัน ได้เปลี่ยนวิถีแห่งการผสมผสานนี้เป็นการรับการเอามาปฏิบัติตามเต็มรูปแบบด้วยความเข้าใจว่าทันสมัย สะดวก รวดเร็วกว่าอาหารไทย อาหาร Junk Food หรืออาหารขยะแบบตะวันตก จึงเข้ามาแพร่หลายในสังคมไทย ทั้งที่มีราคาแพง อุดมด้วยไขมัน น้ำตาล สารสงเคราะห์ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายชาวเมืองร้อน อย่างคนไทย จนส่งผลให้เกิดโรคอันเนื่องมาจากการสะสมอาหารเหล่านี้ เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ
โรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคอ้วน เมื่อผนวกกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ภาวการณ์กู้หนี้ยืมสิน ตั้งแต่ประชาชนถึงประเทศชาติในทุกวันนี้ ทำให้คนไทยได้ทราบแล้วว่าเป็นผลของ " การหลงทาง ” ไปกับวิถีชีวิตแบบชาวตะวันตก จนละทิ้งชีวิตแบบไทยที่สั่งสมเป็นภูมิปัญญามานานนับร้อยนับพันปี
• การพัฒนา ปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลผลิตได้ตลอดปี
• การศึกษา พัฒนาอาหารไทยให้มีคุณค่าทางอาหารปลอดสารพิษ
• การพัฒนา ส่งเสริมอาหารไทยเข้าสู่ระบบอาหารจานด่วน ที่สะอาด หาซื้อง่ายแต่คงความอร่อยและคุณค่าทางอาหาร
• การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงอาหารสำเร็จรูป สำหรับคนไทยที่มีเวลาจำกัดในการปรุงอาหาร เป็นการลดความซับซ้อนในการปรุงอาหารไทย
- การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารไทยสำเร็จรูปสำหรับคนไทยที่ไม่มีเวลาปรุง หรือสำหรับพกพาติดตัวในการเดินทาง การซื้อหาในต่างประเทศ และยังเป็นสินค้าส่งออกขายในตลาดโลก สร้างรายได้เข้าประเทศ
ดั้งนั้น ภูมิปัญญาวิถีการกินอาหารของคนไทยที่ถูกสุขลักษณะตามแบบวัฒนธรรมไทย คือการสร้างค่านิยม อุปนิสัยการกิน ให้เลือกกินอาหารที่มีคุณภาพ ไม่เน้นการหวังผลกำไรทางเศรษฐกิจจนไม่เห็นความสำคัญของผลิตภัณฑ์อาหาร อีกทั้งการกินเป็นเวลา ไม่กินพร่ำเพรื่อ เพราะนิสัยช่างกินของคนไทยเสียเวลากับการกินมาก บางคนจะต้องเข้าไปในสถานที่มีดนตรี มีคนป้อน มิฉะนั้นจะกินไม่ลง การกินแบบตามสบายจึงใช้เวลามาก การงานจึงเสียไปด้วย เพราะวัฒนธรรมการกินเป็น ๑ ในปัจจัย ๔ ของมนุษย์ ภูมิปัญญาวิถีการกินของคนไทยเป็นแบบอย่างให้เยาวชนรุ่นต่อ ๆ ไป สืบทอดวัฒนธรรมไทยที่ถูกต้องอีกสาขาหนึ่ง

การแต่งกายสมัยก่อน

      วิชาประวัติเครื่องแต่งกายเป็นวิชาที่ว่าด้วยการทำความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการแต่ง กายของมนุษย์และเผ่าพันธุ์โดยอาศัยหลักฐานจากประวัติศาสตร์และวรรณคดีเป็นเครื่องมือใน การรับรู้และเข้าใจ อีกทั้ง ยังสะท้อนถึงสภาพของการดำรงชีวิตมนุษย์ในยุคนั้น ๆ
 มนุษย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์แต่งกายด้วยเครื่องห่อหุ้มร่างกายที่ได้มาจากธรรมชาติ เช่น ใบไม้ ใบหญ้า หนังสัตว์ ขนนก ดิน สี ฯลฯ มนุษย์บางเผ่าพันธุ์ใช้สีจากพืชนำมาเขียน มาสัก เพื่อ เป็นเครื่องตกแต่งแทนการห่อหุ้มร่างกาย ระยะต่อมามนุษย์รู้จักวิธีดัดแปลงสิ่งที่มีตามธรรมชาติ มาใช้ทำเป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกายให้เหมาะสม เช่น การผูก มัด สาน ถัก ทอ ฯลฯ ตลอดจนถึงการ ใช้วิธีการตัดและเย็บในปัจจุบัน จากปรากฎการณ์ดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปความหมายของคำ ว่า “เครื่องแต่งกาย” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์นำมาใช้เป็นเครื่องห่อหุ้มร่างกาย โดยที่มนุษย์มีความ จำเป็นต้องแต่งกายด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ

1. ใช้ปกปิดร่างกาย
2. ให้ความอบอุ่น
3. เพื่อป้องกันสัตว์ และแมลง 

วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยกลาง


                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                            สมัยกลาง หรือ ยุคกลาง (อังกฤษ: Middle Ages) คือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์ยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยปกติแล้วเริ่มนับตั้งแต่การล่มสลายลงของจักรวรรดิโรมันตะวันตก (การสิ้นสุดของสมัยคลาสสิก) จนถึงจุดเริ่มตั้นของสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและยุคแห่งการสำรวจ ซึ่งเป็นยุคที่นำไปสู่สมัยใหม่ในเวลาต่อมา สมัยกลางคือช่วงเวลาตรงกลางของกระบวนการเปลี่ยนผ่านในประวัติศาสตร์ตะวันตกคือ สมัยคลาสสิก, สมัยกลาง และสมัยใหม่ นอกจากนี้สมัยกลางยังถูกแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาคือ ต้นสมัยกลาง (Early Middle Ages), สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ (High Middle Ages) และปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages)
ในยุคกลางตอนต้น การลดลงของประชากร, การหดตัวของเมือง และการรุกรานจากอนารยชน เริ่มต้นขึ้นในยุคโบราณตอนปลายและดำเนินไปอย่างรวดเร็ว เหล่าอนารยชนผู้บุกรุกเข้าตั้งอาณาจักรของตนในส่วนที่เหลืออยู่ของจักรวรรดิโรมันตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7แอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ซึ่งเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ได้กลายไปเป็นจักรวรรดิอิสลามหลังจากถูกยึดครองโดยผู้สืบทอดของนบีมุฮัมมัด แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางการเมืองมากมาย แต่ก็ไม่ได้เปลี่ยนไปจากยุคโบราณคลาสสิคอย่างสิ้นเชิง จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ยังคงอยู่รอดและรักษาอำนาจของตนเอาไว้ได้ นอกจากนี้แล้วอาณาจักรเกิดใหม่ส่วนใหญ่ยังคงเกี่ยวพันอยู่กับสถาบันที่หลงเหลืออยู่ของชาวโรมัน ในขณะที่วัดวาอารามของคริสต์ศาสนาได้แผ่ขยายไปทั่วยุโรปตะวันตก ในคริสต์ศตวรรษที่ 7 และ 8 ชาวแฟรงก์ภายใต้การปกครองของราชวงศ์การอแล็งเฌียงได้สถาปนาจักรวรรดิขึ้นซึ่งครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปตะวันตกมีนามว่า จักรวรรดิการอแล็งเฌียง ซึ่งยืนยงไปจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เมื่อจักรวรรดิล่มสลายลงจากแรงงกดดันของการรุกรานจากภายนอก เช่น ชาวไวกิงจากทางเหนือ ชาวแมกยาร์จากทางตะวันออก และชาวซาราเซนจากทางใต้

วันอังคารที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยอู่ทอง

 สมัยอู่ทอง

  ศิลปะอู่ทอง เป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในภาคกลางของประเทศไทย เป็นศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจาก ศิลปะทวาราวดี ขอม เชียงแสนและศิลปะสุโขทัย ศิลปะอู่ทองพบมากที่สุดในบริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา เมืองลพบุรี สุพรรณบุรี และเมืองสรรค์บุรี (อยู่ในเขตจังหวัดชัยนาท) ศิลปะอู่ทองเป็นศิลปะอันเนื่องมาจาก พระพุทธศาสนานิกายหินยาน รูปแบบของศิลปะก็รับอิทธิพลจากศิลปทวาราวดี ขอม และสุโขทัย 

สถาปัตยกรรมสมัยอู่ทอง

       สถาปัตยกรรม ได้แก่ เจดีย์ที่มีทรวดทรงสูงชลูดและเป็นเจดีย์ทรายที่บริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี เจดีย์วัดแก้ว เมืองสรรค์บุรี จังหวัดชัยนาทส่วนพระมหาธาตุ ที่จังหวัดชัยนาท อาจสังเคราะห์เข้าเป็นเจดีย์แบบอู่ทองได้ โดยมีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม มีเจดีย์บริวารประกอบโดยรอบ ปรางค์แบบอู่ทองก็มี เช่น ปรางค์องค์ใหญ่ที่วัด พระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองลพบุรี ซึ่งเป็นปรางค์ที่เลียนแบบปรางค์ขอม แต่ได้แก้ไขให้มีรูปทรงสูงขึ้น ซึ่งน่าจะเป็นแบบอย่างสำหรับสร้างปรางค์แบบไทย ๆ ในสมัยต่อมา

สมัยศรีวิชัย

                                         สมัยศรีวิชัย

  จุดเริ่มต้นของอาณาจักรศรีวิชัยมาจากการอ่านศิลาจารึกหลักที่ 23  ซึ่งมีศักราชกำกับว่าเป็นพุทธศักราช 1318 ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชหรือสุราษฎร์ธานี  จารึกมีข้อความที่กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีวิชัย  และเมื่อนำไปประกอบกับบันทึกของภิกษุอี้จิง (I-Ching)  ซึ่งได้เดินทางโดยทางเรือจากเมืองกวางตุ้งมาศึกษาพระธรรมวินัยในปี พ.ศ. 1214 
ได้กล่าวว่า เมื่อเดินทางเรือมาได้ 20 วัน ได้แวะอาณาจักรโฟซิ (Fo-Shih)  ท่านได้แวะศึกษาไวยากรณ์ภาษาสันสกฤตอยู่ 6 เดือนก่อนที่จะเดินทางไปอินเดีย  หลังจากศึกษาที่อินเดียอยู่ 10 ปี  ได้กลับมาที่โฟซิอีกครั้ง  ซึ่งขณะนั้นได้กลายเป็นอาณาจักร ซิลิโฟซิ (Shih-li-Fo-Shih)ไปแล้ว  ศาสตราจารย์ยอร์จ  เซเดย์  สรุปว่าอาณาจักรเซลิโฟซิ ก็คือ อาณาจักรศรีวิชัย อันเป็นอาณาจักรหนึ่งที่มีอำนาจทางการเมืองมั่นคง มีอาณาเขตกว้างขวางครอบคลุมหมู่เกาะต่างๆ บริเวณตอนใต้ของคาบสมุทรมาเลย์  ตลอดขึ้นมาถึงดินแดนบางส่วนของคาบสมุทร  โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่เมืองปาเล็มบัง  เกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซีย

สมัยลพบุรี

                                         สมัยลพบุรี

เมื่อเริ่มเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ คือ มนุษย์รู้จักใช้ตัวอักษรนั้น ที่จังหวัดลพบุรีได้ค้นพบหลักฐานเป็นตัวอักษรชนิดที่เก่าสุดแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย เป็นจารึกอักษรปัลลวะ ภาษาบาลี ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๒ แต่หลักฐานซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๘  มี ไม่มากพอต่อการคลี่คลายเหตุการณ์ทางด้านประวัติศาสตร์เมืองลพบุรีมากนัก และเป็นดังนี้จนถึงราวศตวรรษที่ ๑๙ เพราะฉะนั้นเหตุการณ์ซึ่งพบว่าเมื่อเริ่มมีการใช้ตัวอักษรที่เมืองลพบุรี หรือปรากฏศิลปกรรมต่างๆ สะท้อนให้เห็นว่าสังคมเริ่มมีศาสนาอักษรศาสตร์ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๑ จนถึงช่วงแรกของพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ก่อนที่เมืองลพบุรีเป็นเมืองบริวารของอาณาจักรอยุธยา สมควรเรียกว่าเป็นสมัยกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ (Pre to History) มีระยะเวลานานราว ๘ ศตวรรษ

สมัยใหม่

สมัยใหม่
 ยุคกลาง มีการค้าระหว่างยุโรปกับเอเชีย ผ่านทางทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนและตะวันออกกลาง โดยอิตาลีได้เปรียบประเทศอื่น สามารถควบคุมเส้นทางการค้าเกือบทั้งหมด ทำให้อังกฤษ ฝรั่งเศส โปรตุเกส สเปน ฮอลันดา พยายามทำลายการผูกขาดนี้ ประจวบกับชาวยุโรปส่วนหนึ่ง เบื่อชีวิตที่อยู่ภายใต้อิทธิพลมืดของสันตะปาปา จึงคิดอพยพไปตายเอาดาบหน้าเพื่ออิสระในการนับถือศาสนา เป็นเหตุหนึ่งในการออกสำรวจแสวงหาเส้นทางการเดินเรือใหม่ และเส้นทางการค้าทางบกของชาวยุโรปกับตะวันออก ตกอยู่ในมือของพ่อค้าชาวมุสลิม ทำให้ชาวยุโรปต้องการหาเส้นทางการค้าใหม่ก็คือ ค้าขายทางทะเลเท่านั้น การติดต่อของชาวยุโรปและโลกตะวันออกจากการค้า ทำให้ชาวยุโรปมีโอกาสสัมผัสกับอารยธรรมของโลกตะวันออก วิชาความรู้ต่างๆ    ของกรีกและมุสลิม หลั่งไหลมาสู่สังคมตะวันตก ทำให้ปัญญาชนเริ่มทบทวนและตรวจสอบความรู้ของตน ตลอดจนเกิดการท้าทายคำสอนศาสนาที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาในสมัยกลางถึงเรื่องโลกแบน ความรู้ทางภูมิศาสตร์และแผนที่ของปโตเลมี (Ptolemy) นักดาราศาสตร์และนักคณิตศาสตร์ชาวกรีก ที่แสดงให้เห็นดินแดนที่กว้างใหญ่ ความต้องการสำรวจเส้นทาง โดยเฉพาะทางเรือ จึงเพิ่มขึ้น






















สมัยโบราณ

สมัยโบราณ


สมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ ช่วงเวลาที่มนุษย์ยังไม่มีตัวอักษรจดบันทึกเรื่องราวของสังคม นักโบราณคดีเป็นผู้ศึกษาเรื่องราวของสมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นหลักโดยศึกษาจากซากพิมพ์ดึกดำบรรพ์หรือพิมพ์หิน โบราณสถาน โบราณวัตถุ โครงกระดูก สิ่งของเครื่องใช้ ภาพวาดตามผนังหรือบนสิ่งของต่างๆ เป็นต้น โดยสมัยก่อนประวัติศาสตร์มีการแบ่งเป็นยุคย่อย คือ ยุคหินกับยุคโลหะ ทั้งนี้ยุคหินยังมีการแบ่งออกเป็นยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และ ยุคหินใหม่ ส่วนยุคโลหะก็มีการแบ่งเป็นยุคสำริดกับยุคเหล็ก

สมัยธนบุรี

ประวัติศาสตร์ไทยสมัยธนบุรี
การสถาปนากรุงธนบุรีภายหลังการสูญเสียกรุงศรีอยุธยา แก่พม่าแล้ว บ้านเมืองอยู่ในสภาพระส่ำระสาย ขาดพระเจ้าแผ่นดินปกครอง ประชาชนพากันหลบหนีไปอยู่ตามป่า และหัวเมืองห่างไกล  อย่างไรก็ตาม การเสียกรุงครั้งที่ 2  นี้ยังมีหัวเมืองอีกหลายแห่ง ที่รอดพ้นจากการทำลายของพม่า จึงได้มีผู้นำคนไทยตั้งตัวเป็นเจ้าชุมนุมขึ้น  เพื่อรวบรวมกำลังเข้ากอบกู้อิสรภาพต่อไป
ชุมนุมคนไทยทั้ง  5 ชุมนุม ได้แก่
1.ชุมนุมเจ้าพิมาย
2.ชุมนุมเจ้าพระฝาง
3.ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก
4.ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราช
5.ชุมนุมเจ้าตาก  หรือพระยาตาก (สิน)  ซึ่งสามารถกอบกู้เอกราชกลับคืนมาได้  ภายในปีเดียวกันนั้น  โดยใช้เวลาเพียง 7  เดือน
พระราชประวัติพระเจ้าตากสินมหาราช และการกอบกู้อิสรภาพ พระเจ้าตากสินมหาราช มีพระนามเดิมว่า  สิน มีชาติกำเนิดเป็นสามัญชน  บิดาชื่อขุนพิพัฒน์ (ไหฮอง-เชื้อชาติจีน) มารดาชื่อ  นางนกเอี้ยง ได้รับการศึกษาอบรม จนได้รับราชการเป็นขุนนางในตำแหน่งเจ้าเมืองตาก 

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

สมัยรัตนโกสินทร์

  ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์

 การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์     
แผนที่ประเทศไทยสมัยรัชกาลที่ 1  แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
   หลังจากที่สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงปราบจลาจลในปลายสมัยธนบุรีเสร็จสิ้นแล้ว  จึงได้ทรงสถาปนาราชวงศ์จักรี  และขึ้นครองราชย์ในฐานะปฐมกษัตริย์ แ่ห่งราชวงศ์จักรี  ทรงพระนาว่า สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
     สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช  ได้ทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งกรุงเทพฯ  ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา  เมื่อ พ.ศ.  2325
    สาเหตุที่ทรงย้ายราชธานี  มีดังนี้  คือ
     1.  พระราชวังเดิมของกรุงธนบุรีคับแคบ  มีวัดขนาบทั้ง  2  ข้าง  (คือวัดท้ายตลาด หรือวัดโมลีโลกยาราม  และวัดอรุณราชวราราม) 
     2.  ทรงไม่มีพระประสงค์จะให้ราชธานีแบ่งออกเป็น  2  ส่วน  โดยมีแม่น้ำเจ้าพระยากั้น
     3.  พื้นที่นทางฝั่งตะวันออกเป็นที่ราบลุ่ม  สามารถขยายเมืองออกได้อย่างกว้างขวาง
     4.  ฝั่งธนบุรีพื้นที่เป็นท้องคุ้ง  น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายได้ง่าย
     ในการสร้างพระบรมมหาราชวัง  โปรดให้สร้างวัดขึ้นในพระบรมมหาราชวังด้วย  คือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  หรือวัดพระแก้ว  แล้วอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐาน

สมัยอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่นานถึง  417  ปี  คือตั้งแต่  พ.ศ. 1893 - 2310  แต่กรุงศรีอยุธยา ได้เริ่มเสื่อมลงน้อย  นับแต่ต้นราชวงศ์บ้านพลูหวง เป็นต้นมา  โดยมีสาเหตุสำคัญดังนี้
     1.  เกิดการแย่งชิงราชสมบัติ
     2.  ขุนนางและเจ้านายผู้ใหญ่แตกสามัคคี
     3.  ทหารแตกแยกกัน  กองทัพขาดการเตรียมพร้อม
     นอกจากสาเหตุที่เกิดขึ้นภายในกรุงศรีอยุธยาเองดังกล่าวแล้ว  ยังประกอบกับพม่ามีกำลังและอำนาจมากขึ้น  ภายใต้การนำของกษัตริย์ราชวงศ์อลองพญา  พร่มจึงได้ปราบปรามกบฎ  และเคลื่อนทัพมายังดินแดนไทย  โดยเริ่มจากการตีหัวเมืองฝ่ายเหนือ  เรื่อยมาจนล้อมกรุงศรีอยุธยาไว้  โดยกรุงศรีอยุธยาไม่อาจต้านทานได้  เนื่องจากสาเหตุดังต่ไปนี้
แผนที่อยุธยาในสมัยรุ่งเรื่องในอดีต
  1. พระมหากษัตริย์อ่อนแอ
  2. แม่ทัพนายกองที่มีความสามารถ ไม่ได้รับความสะดวกในการสู้รบ
  3. ทหารขาดความสามารถ  เพราะว่างศึกษานาน
     กรุงศรีอยุธยาต้องเสียแก่พม่าใน  พ.ศ.  2310  การเสียกรุงครั้งนี้  บ้านเมืองได้รับความเสียหายมาก  พม่าได้กวาดต้อนทรัพย์สมบัติ  และผู้ีคนไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก
       กรุงศรีอยุธยา ได้สิ้นสุดลงด้วยระยะเวลา  417  ปี  โดยทิ้งมรดกทางศิลปวัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  รวมทั้งบทเรียนจากอดีต ที่มีผลให้เสียกรุง จนไม่อาจสถาปนาขึ้นใหม่ได้

สมัยสุโขทัย

     ประวัติศาสตร์ไทยสมัยสุโขทัย

           (พ.ศ.  1780 - 1981)
แผนที่อาณาจักรสุโขทัยการสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
การสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้
การสถาปนากรุงสุโขทัย
     ก่อนการสถาปนากรุงสุโขทัย  ดินแดนตั้งแต่ภาคเหนือ ลงมา แถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาถึงอ่าวไทย อยู่ภายใต้การปกครองของขอม  โดยดินแดนตั้งแต่ปากน้ำโพขึ้นไป เป็นอาณาเขตสยาม  มีเมืองสุโขทัยเป็นศูนย์กลาง  และดินแดนส่วนใต้ ตั้งแต่ปากน้ำโพ ลงมาถึงอ่าวไทย  เป็นอาณาจักรละโว้  ราวปี  พ.ศ.  1780  พ่อขุนบางกลางหาว (หรือพ่อขันบางกลางท่าว)  เจ้าเมืองบางยาง  และพ่อขันผาเมือง  เจ้าเมืองราช  ได้ร่วมกันรวบรวมกำลัง เข้าตีเมืองสุโขทัยและเมืองต่าง ๆ  ของขอม  แล้วสถาปนากรุงสุโขทัยเป็นราชธานี  โดยมีพ่อขุนบางกลางหาวเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์พระร่วง  ทรงพระนามว่า  พ่อขุนศรีอินทราทิตย์  ปกครองกรุงสุโขทัย  และมีกษัตริย์สืบต่อมารวม  9  พระองค์ ดังนี้